To top
8 Jun

Chanel Leather Material หนังแต่ละชนิดของชาแนล

Chanel Leather Material – ชื่อเสียงของแบรนด์ชาแนลมีมายาวนานกว่า 110 ปี เริ่มต้นจากสตรีที่มีชื่อว่า โคโค่ ชาแนล (Coco Chanel) ที่ได้พาแบรนด์ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ ด้วยความที่ว่ากระเป๋าแบรนด์ชาแนลเป็นแบรนด์ที่มีอยู่มาอย่างยาวนาน มีการพัฒนาดีไซน์และวัสดุที่นำมาใช้อยู่สม่ำเสมอ

ดังนั้น หนึ่งในสิ่งที่ถูกพัฒนาปรับเปลี่ยนมากที่สุดคงหนีไม่พ้น Leather Material ซึ่งทางแบรนด์จะเลือกมารังสรรค์เป็นกระเป๋าใบใหม่ๆ ในแต่ละฤดูกาล ในวันนี้เราได้รวบรวมวัสดุต่างๆ ที่นำมาใช้ผลิตกระเป๋าของแบรนด์ชาแนลซึ่งมีอยู่หลากหลาย นับเป็นสิบๆ ชนิด  แต่จะมีชนิดไหนที่เราคุ้นเคย หรือดูแปลกตาเราไปบ้าง? ไปชมได้พร้อมๆ กันเลยค่ะ

Chanel Leather Material หนัง Chanel

รายละเอียดของวัสดุแต่ละชนิด

หนังแกะ (Lambskin) Chanel Leather Materialหนังแกะ (Lambskin) : เป็นหนังที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของ Chanel ด้วยที่ว่าหนังให้สัมผัสที่นุ่มนวล แต่ยังคงรูปความเป็นกระเป๋าไว้อย่างสวยงาม

หนังคาเวียร์ (Caviar)หนังคาเวียร์ (Caviar) : หนังคาเวียร์นั้น ทำมาจากหนังลูกแกะที่ได้ทำการอัดลายเม็ดคาเวียร์ลงบนผืนหนัง จึงทำให้มีผิวสัมผัสเป็นเม็ดคาเวียร์ ให้ความรู้สึกแตกต่างจากหนังแกะทั่วไป

หนังลูกวัว (Calfskin)หนังลูกวัว (Calfskin) : เป็นหนังที่ให้สัมผัสที่เนียนนุ่ม หนังลูกวัวมีความเรียบ แต่ทนทานต่อการใช้งานเป็นอย่างมาก จึงเป็นอีกหนึ่งวัสดุที่นิยมนำมาเป็นวัสดุในการทำกระเป๋า

หนังลูกวัวอ่อน (Aged Calfskin Leather) Chanel Leather Materialหนังลูกวัวอ่อน (Aged Calfskin Leather) : หากได้สัมผัสเผินๆ เนื้อสัมผัสจะไม่ต่างจากหนังลูกวัวมากนัก แต่ถ้าหากสัมผัสและตั้งใจสังเกตดีๆ หนังลูกวัวอ่อนจะให้ความรู้สึกที่นุ่มลื่นกว่าหนังลูกวัวปกติ

หนังลูกวัวลายเกรน (Grained Calfskin)หนังลูกวัวลายเกรน (Grained Calfskin) : มีลักษณะคล้ายกับหนังคาเวียร์ แต่ลายจะค่อนข้างเล็กกว่า และไม่นูนเท่ากับหนังคาเวียร์ปกติ เป็นอีกทางเลือกให้แก่คนที่ชื่นชอบ Caviar Style

หนังแพะ (Goatskin)หนังแพะ (Goatskin) : จุดเด่นของหนังแพะ คือ เนื้อสัมผัสเนียบนุ่ม ทนทานต่อการสึกหรอ คงรูปกระเป๋าได้เป็นอย่างดี เป็นอีกวัสดุที่นิยมในการนำมาใช้ทำกระเป๋า

หนังกลับ (Deerskin Leather)หนังกวาง (Deerskin Leather) : หนังกวางเป็นหนังที่มีจุดเด่นเรื่องลายยับย่นที่ละเอียดสวยงาม และเป็นเอกลักษณ์ ให้ความรู้สึกนุ่มนวลเมื่อสัมผัส มีความยืดหยุ่น

หนังเคลือบเงา (Patent Leather)หนังเคลือบเงา (Patent Leather) : ทำจากหนังวัวที่ถูกนำมาเคลือบเงา เพื่อความสวยงามในการใช้งาน มีน้ำหนักเบา ให้สีที่สดใส แต่มีข้อเสีย คือ หนังเป็นรอยขีดข่วนง่าย

หนังเมทัลลิค (Metallic) Chanel Leather Materialหนังเมทัลลิค (Metallic) : เมทัลลิค คือ สีผสมเม็ดโลหะ (คล้ายกากเพชร) โดยหนังตัวนี้เป็นหนังวัว เคลือบเมทัลลิคทำให้มีประกายแวววาว เนื้อสัมผัสนุ่มนวล และเคลือบเพื่อทำให้เกิดความทนทานในการใช้งาน

ผ้าเส้นใยผสม (Mixed Fibers)ผ้าเส้นใยผสม (Mixed Fibers) : ผ้าเส้นใยผสมเป็นการนำคุณสมบัติเด่นของเส้นใยต่างๆ มาผสมกัน เช่น ผ้าสักหลาดชนิดหนานุ่มผสมกับผ้าใบ โดยกระเป๋าจะมีลักษณะค่อนข้างหนา มีหลากหลายสีในหนึ่งกระเป๋า และทนทานต่อการใช้งาน

หนังลูกวัวพิมพ์ลาย (Printed Calfskin) Chanel Leather Materialหนังลูกวัวพิมพ์ลาย (Printed Calfskin) : เรียกได้ว่ามีลักษณะที่ค่อนข้างแปลกตา ด้วยที่แบรนด์ได้นำหนังลูกวัวมาพิมพ์ลายต่างๆ จึงทำให้มีลวดลายที่สวยงามไม่เหมือนใคร

ผ้าเจอร์ซีย์ (Jersey)ผ้าเจอร์ซีย์ (Jersey) : เจอร์ซี่เป็นวัสดุถักทอชนิดพิเศษ ลักษณะนุ่มมือเมื่อสัมผัส ทนทานต่อการใช้งาน แต่มีข้อเสีย คือ สามารถเลอะได้ง่ายกว่าวัสดุชนิดทั่วไป

หนังกลับแกะ (Suede Goatskin)หนังกลับแกะ (Suede Goatskin) : เป็นวัสดุหนังนุ่มที่สุดในบรรดาหนังทุกประเภท มีความยืดหยุ่นสูง และทนทานต่อการใช้งานเป็นอย่างมาก

ผ้าสักหลาดชนิดหนานุ่ม (Tweed)ผ้าสักหลาดชนิดหนานุ่ม (Tweed) : พื้นผิวที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของแบรนด์ชาแนล มีการสานเส้นด้ายที่แน่นหนา ผ้าสักหลาดเป็นผ้าขนสัตว์ เมื่อสัมผัสจะให้ความรู้สึกผิวหยาบ แต่มีความยืดหยุ่นสูง

ผ้าวิสโคส (Viscose)ผ้าวิสโคส (Viscose) : มีลักษณะค่อนข้างหนา สามารถนำมาย้อมได้หลากหลายสี เพื่อความสวยงามของกระเป๋า และเส้นใยของผ้าวิสโคสยังทนทานต่อการใช้งานอีกด้วย

หวายสาน (Rattan) Chanel Leather Materialหวายสาน (Rattan) : เป็นเส้นหวายที่ดัดให้อยู่ในรูปแบบต่างๆ มีความเหนียวเป็นลักษณะเฉพาะตัว และทนทานต่อการใช้งานได้เป็นอย่างดี

ผ้าเดนิม (Denim)ผ้าเดนิม (Denim) : เป็นผ้าทอจากฝ้ายชนิดหนึ่ง แต่ลักษณะเฉพาะของเดนิมไม่ได้อ่อนนุ่มเหมือนผ้าฝ้ายทั่วไป มีความแข็ง ความกระด้างมากกว่าผ้าฝ้ายที่ทอแบบอื่นเมื่อสัมผัส

ผ้าใบ (Canvas)ผ้าใบ (Canvas) : สำหรับผ้า Canvas เป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับแบรนด์อีกชนิด ด้วยเส้นใยผ้ามีความหนา เส้นใยเรียงสวยงาม และทนทานต่อการใช้งานป็นอย่างมาก

พีวีซี (PVC)พีวีซี (PVC) : เป็นพลาสติกที่แข็งแรงทนทานต่อการใช้งาน สามารถยืดหยุ่นได้มากกว่าพลาสติกทั่วไป จึงนำมาผลิตกระเป๋าที่มีลักษณะใส ในส่วนของชาแนลนั้นมีการทำลักษณะพิเศษให้เป็นมันวาน และหลากหลายสี 

พลาสติกเลื่อม (Sequins)พลาสติกเลื่อม (Sequins) : ในส่วนของ Sequins จะเห็นได้ว่าจะมีความปราณีตมากกว่าตัวอื่น เนื่องจากเป็นงานฝีมือ ที่นำพลาสติกชิ้นเล็กๆ มาเย็บเรียนต่อกันทั่วทั้งกระเป๋า จนเกิดลวดลายที่สวยงามน่าสนใจ

คริสตัล (Crystal)คริสตัล (Crystal) : สำหรับคริสตัลในฉบับที่นำมาทำกระเป๋านี้ วัสดุทำมาจากพลาสติกที่นำมาหล่อหลอมให้มีลักษณะคล้ายๆ เพชร นำมาเคลือบสีต่างๆ ได้มากมาย และได้นำมาเย็บเรียงต่อกันทั่วทั้งกระเป๋า

เรซิน (Resin)เรซิน (Resin) : เรซิน คือ สารที่ได้จากยางเหนียวของต้นไม้ หรือจากการสังเคราะห์ มีคุณสมบัติยืดหยุ่นได้ มีความหนาพอสมควร และมีลักษณะที่มันเงาอย่างเห็นได้ชัด ทนทานต่อการใช้งานอย่างแน่นอน

เพชรเทียม (Strass)เพชรเทียม (Strass) : ในส่วนนี้มีการฝังเพชรเทียมเม็ดเล็กลงไปในตัวกระเป๋าหนังต่างๆ เพื่อความสวยงาม และลวดลายที่เกิดขึ้นนั้น สามารถบ่งบอกถึงความปราณีตได้อย่างเห็นได้ชัด

ผ้าคอตตอน (Cotton)ผ้าคอตตอน (Cotton) : ผลิตมาจากเส้นใยฝ้าย เรียกได้ว่ามีน้ำหนักเบา มีสัมผัสที่นุ่มมือ ไม่กระด้าง และทนทานต่อการใช้งานเป็นอย่างมาก

หนังกำมะหยี่ (Velvet)หนังกำมะหยี่ (Velvet) : เป็นวัสดุที่สัมผัสนุ่มและสบายมือ รูปลักษณ์สวย สง่างามโดยเฉพาะอย่างยิ่ง และเรียกได้ว่ากำมะหยี่เป็นวัสดุที่มีเสน่ห์สำหรับกระเป๋าชาแนล

ผ้าลินิน (Linen) Chanel Leather Materialผ้าลินิน (Linen) : เป็นผ้าที่ขึ้นชื่อเรื่องความทนทานและการระบายอากาศได้ดี ด้วยคุณสมบัติที่มีความทนทานนั้น จึงทำให้เป็นทางเลือกในการนำมาเป็นวัสดุในการทำกระเป๋า

หนังจระเข้ (Crocodile or Alligator)หนังจระเข้ (Crocodile) : หนังจระเข้เป็นหนึ่งในหนังที่ได้รับความนิยมอย่างสูง มีความทนทานค่อนข้างสูง ซึ่งหนังจระเข้เกล็ดจะมีความชัดเจนมากกว่าหนังอัลลิเกเตอร์ อย่างไรก็ตามควรเก็บให้ห่างจากความชื้น ควรอยู่ในสภาพ และอุณภูมิที่เหมาะสม

หนังอัลลิเกเตอร์ (Alligator) : หนังอัลลิเกเตอร์เป็นหนังที่ได้รับความนิยมเช่นเดียวกันกับหนังจระเข้ จุดเด่น คือ เป็นหนังที่ทนทาน เป็นรอยขีดข่วนได้ยาก นอกจากนี้ยังให้สีสันที่ชัดเจน โดดเด่น

หนังงูเหลือม (Python) Chanel Leather Materialหนังงูเหลือม (Python) : มีน้ำหนักเบาและดูแลรักษาได้ง่าย แต่ต้องอยู่ห่างจากน้ำ มิฉะนั้นคุณภาพของหนังจะต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด

Chanel Leather Material

จะเห็นได้ว่า Chanel Leather Material มีความหลากหลายในวัสดุที่นำมาผลิต จึงทำให้กระเป๋าชาแนลมีแตกต่างจากแบรนด์หรูอื่นๆ ความลงตัวระหว่างแฟชั่นที่ทันสมัยกับความคลาสสิกของแบรนด์ ทำให้กระเป๋าชาแนลยังคงเป็นที่นิยมอยู่เสมอมา ซึ่งไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไหร่ แบรนด์ยังคงไว้ซึ่ง DNA อยู่อย่างชัดเจน

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันแบรนด์ Chanel ได้ประกาศเลิกใช้หนังสัตว์อย่างเป็นทางการแล้วเมื่อต้นเดือนธันวาคม ปี 2018 ที่ผ่านมา รวมถึงแบรนด์ได้ปลดสินค้าที่ผลิตจากหนังสัตว์ออกจากเว็บไซต์ทั้งหมดอีกด้วย โดยชาแนลได้หันมาวิจัยและพัฒนาด้านวัสดุทดแทนอื่นๆ รวมถึงค้นคว้าวัสดุที่ได้มาจากการเกษตรอีกด้วย นับว่าเป็นเรื่องราวดีๆ จาก Luxury Brand ที่หันมาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมแฟชั่น และพัฒนางานแฟชั่นต่อไปแต่ยังคงรักษาสมดุลให้แก่ธรรมชาติ

รัก
xoxo

 

 

Wariya Pokawaranon