To top
14 Jan

ประวัติแบรนด์ Dior จากคนไร้บ้าน สู่การปฏิวัติวงการแฟชั่น

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในปัจจุบัน Dior (ดิออร์) เป็นอีกหนึ่ง Luxury Brand อันเป็นที่ต้องการอย่างมากในกลุ่มคนใช้สินค้าแบรนด์เนม ด้วยสไตล์การดีไซน์แบบ Femininity ถูกนำเสนอผ่านทางกระเป๋า เสื้อผ้า เครื่องสำอางค์ และน้ำหอม เอาใจกลุ่มคุณผู้หญิงทั่วโลก ทำให้ Dior ก้าวเข้าสู่บริษัทแบรนด์หรูที่มีมูลค่ามากถึง $87,400 ล้านเหรียญ (หรือราว 2.84 ล้านล้านบาท) ซึ่งปัจจุบัน Dior มีสโตร์ Hi End มากกว่า 198 แห่งทั่วโลก และยังคงพัฒนาแบรนด์อย่างต่อเนื่อง เราจะพาท่านย้อนไปทำความรู้จักกับ ประวัติแบรนด์ Dior แบรนด์สัญชาติฝรั่งเศสนี้ ก่อนจะมาเป็นแบรนด์อันโด่งดังในปัจจุบัน

 

จุดเริ่มต้นของ Dior (ดิออร์)

ประวัติแบรนด์ Dior มีจุดเริ่มต้นมาจากชายชาวฝรั่งเศส ชื่อ คริสเตียน ดิออร์ (Christian Dior) เกิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1905 เป็นนักออกแบบเสื้อผ้า เกิดที่เมืองกร็องวีล นอร์มังดี ประเทศฝรั่งเศส เป็นบุตรชายของ มอไรซ์ (Maurice) และ เมเดอรีน ดียอร์ (Madeleine Dior) เป็นบุตรคนที่ 2 ของครอบครัว จากบุตรทั้ง 5 คน อุปนิสัยของดิออร์เป็นคนละเอียดอ่อน เรียบร้อย ชอบช่วยคุณแม่ออกแบบจัดตกแต่งบ้านและสวน

คริสเตียน ดิออร์ (Christian Dior)

คริสเตียน ดิออร์ (Christian Dior)

เมื่อเด็กชายดิออร์อายุได้ประมาณ 5 ขวบ ครอบครัวของเขาก็ได้ย้ายเข้าไปกรุงปารีส สิ่งที่ดิออร์สนใจตั้งเเต่เข้ามา ณ เมืองหลวงแห่งนี้นั่นก็คือ บัลเลต์ และงานแสดงภาพเขียนจิตรกรรม เขาได้รับอิทธิพลด้านความคิดสร้างสรรค์มาจากสิ่งเหล่านี้ เมื่อถึงช่วงวันหยุดยาวแต่ล่ะครั้ง ครอบครัวดิออร์ก็มักจะกลับไปบ้านเกิด ซึ่งจะมีเด็กๆ เข้ามามีส่วนร่วมในเทศกาลงานท้องถิ่นอยู่เสมอ ดิออร์ก็มักจะได้รับหน้าที่ออกแบบชุดเสื้อผ้าให้เด็กๆ เหล่านั้น นับเป็นการฉายแววนักออกแบบครั้งแรกของเขา

Des Sciences Politiques โรงเรียนรัฐศาสตร์

Des Sciences Politiques

ต่อมาดิออร์ได้ศึกษาเกี่ยวกับการทูต ณ โรงเรียนรัฐศาสตร์ ที่ Des Sciences Politiques ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ดิออร์รู้ตนเองดีว่า ตนเองนั้นชอบอะไร เขามีความเชื่อมั่นในตนสูงในเรื่องรสนิยมการออกแบบแฟชั่นและศิลปะ ซึ่งในระหว่างที่เขาเรียนอยู่นั้น ดิออร์ ตัดสินใจหารายได้ระหว่างเรียนด้วยการรับสเก๊ตภาพแฟชั่น และนำออกจำหน่ายในราคาภาพละ 10 เซนต์

ชีวิตในโรงเรียนรัฐศาสตร์ดูจะไม่สวยหรูเสมอไป ดิออร์นั้นใช้เวลาเรียนมา 4 ปีแล้ว ยังไม่มีวี่แววว่าจะสำเร็จการศึกษาการเลย และดูเหมือนว่าเขาจะไม่ประสบความสำเร็จในเส้นทางนี้ คุณพ่อคุณแม่ของเขาจึงเลิกคาดหวังกับเขา เห็นได้ชัดว่า แม้ดิออร์จะพยายามร่ำเรียนมาตลอดระยะเวลา 4 ปี แต่เทียบไม่ได้เลยกับสิ่งที่เขาสนใจนั่นก็คือ ศิลปะและแฟชั่น โดยที่เขาเองไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบเสื้อผ้าเลยแม้แต่น้อย แต่กลับมีพรสวรรค์ และทำได้ออกมาอย่างดีเยี่ยม

Christian Dior ทำงานที่กรุงปารีส (ค.ศ. 1905-1957)

Christian Dior ทำงานที่กรุงปารีส (ค.ศ. 1905-1957)

แน่นอนว่าการเดินทางของดิออร์ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบดังวาดฝันไว้ เส้นทางนักออกแบบของเขาต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากเกิดปัญหาสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงปี ค.ศ. 1927 ดิออร์ ได้ถูกเรียกตัวไปเป็นทหารอยู่ถึง 2 ปี กว่าจะถูกปลดประจำการ และเมื่อกลับมาที่ปารีส ดิออร์ตัดสินใจจะเปิดแกลอรี่ภาพเขียนของเขา แต่มีอุปสรรคด้านเงินทุน ดังนั้น ดิออร์จึงต้องขอร้องให้คุณพ่อกับคุณแม่ของเขาเข้ามาช่วย

แต่อุปสรรคในการเปิดแกลอรี่ คือ ทั้งพ่อและแม่ของดิออร์มีข้อแม้กับดิออร์ว่า “ห้ามตั้งชื่อแบรนด์ว่าดิออร์” เป็นอันขาด เพราะทั้งสองไม่อยากเกี่ยวข้องกับการค้าขาย อีกประการหนึ่ง ทั้งพ่อและแม่ของเขายังมองค่านิยมที่เกี่ยวกับการค้าขายไปในทางลบ เพราะคิดว่าเป็นอาชีพที่ไร้ค่า แต่ดิออร์ก็สามารถผ่านสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างราบรื่น เพราะได้ทำในสิ่งที่ตนรัก และมุ่งมั่นที่จะทำตามความฝันของเขาจนกระทั่งประสบความสำเร็จ

ดิออร์ ยังคงเผชิญกับมรสุมอยู่อย่างต่อเนื่อง เมื่อเวลาดำเนินผ่านไประยะหนึ่ง ดิออร์ได้สูญเสียคุณแม่ และคุณพ่อเขาต้องล้มละลายจากตลาดหุ้น ดังนั้นแกลอรี่เขาจึงต้องปิดตัวลงตามไปด้วย เนื่องจากสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจ ในช่วงนั้น เขาไม่ต่างอะไรจากคนไร้บ้าน ดิออร์หนีความทุกข์ด้วยการออกไปท่องเที่ยวสหภาพโซเวียตกับกลุ่มสถาปนิก และเมื่อกลับมายังฝรั่งเศส เขายังคงต้องพึ่งพาอาศัยเพื่อนๆ ทั้งที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า และอาหาร

ความทุกข์ถาโถมเข้ามาหาเขามากจนเขาล้มป่วยเป็นวัณโรค เพื่อนๆจึงช่วยดิออร์ให้ไปพักฟื้นที่เมืองพิเรนนิส หลังจากนั้น ดิออร์จึงได้เริ่มทำงานเป็นดีไซน์เนอร์เต็มตัวอย่างที่เขาหวังไว้ และพักอาศัยกับ จาคูส โอเซนเน่ (Jacques Ozenne) ผู้เป็นนักวาดภาพประกอบและสอนดิออร์วาดภาพได้อย่างสมบูรณ์แบบอีกด้วย

และเมื่อระยะเวลาผ่านไปได้ไม่นานนัก ดิออร์ ก็ได้เริ่มต้นเข้าวงการแฟชั่นของเขาด้วยการรับจ้างออกแบบหมวก และเสื้อผ้าให้กับ โอต์ กูตู เฮาสท์ (Haote Couture Houses) ผลงานการออกแบบของดิออร์กลายเป็นที่นิยม และได้รับกระแสการตอบรับดีมากจากกลุ่มชนชั้นสูง ทำให้เขาสามารถที่จะส่งเงินให้คุณพ่อและน้องๆ ของเขาด้วย

 

เปิดตัวแฟชั่นแนวใหม่ เรียกว่า “New Look”

Dior New Look

The New Look

ดิออร์ ได้เข้าสู่วงการแฟชั่นอย่างเต็มตัวเมื่อปี ค.ศ. 1947 เขาได้เปิดตัวแฟชั่นแนวใหม่ เรียกว่า “New Look” ซึ่งมีกระแสนิยม และการตอบรับที่ดี ด้วยลักษณะเสื้อแบบไหล่แคบที่มาพร้อมกับกระโปรงยาว ซึ่งแน่นอนว่ามาแทนที่เสื้อแบบไหล่กว้างพร้อมกับกระโปรงสั้นแบบตรงในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ดั้งนั้นการกำเนิดแฟชั่นในครั้งนี้เป็นการปฎิวัติวงการแฟชั่นเลยก็ว่าได้ พร้อมทั้งทำให้ปารีสกลายเป็นศูนย์กลางของวงการแฟชั่นได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ในระยะเวลาต่อมา ดิออร์ได้พัฒนาการออกแบบ และมีการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น เช่น ชุดเดรสแซก ที่มีลักษณะ เป็นชุดสตรีปล่อยยาวไม่มีเข็มขัด แบบทรงตรง ซึ่งคอลเล็กชั่นนี้เน้นถึงการออกแบบเสื้อผ้าที่มีความหรูหรา มาพร้อมกับกระโปรงฟูฟ่องบานที่ทำให้สตรีเปรียบเสมือนดั่งดอกไม้ ได้รับอิทธิพลจากประเทศญี่ปุ่น ทำให้ New Look มีกลิ่นอายแบบโอเรียนทรัล แน่นอนว่าแฟชั่นของเขาได้รับกระแสตอบรับอย่างดีมาก จนทำให้ดิออร์ได้รับการขนานนามว่า “เป็นผู้นำแฟชั่นในระดับสากล”

ในยุคท้ายสุดของดิออร์นั้น เขายังผลิตผลงานใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอย่างไม่ขาดสาย และในการออกแบบของเขานั้น เน้นฝีมือตัดเย็บอย่างประณีต ให้ความสำคัญกับผลงานที่ละเอียดอ่อน ผลงานที่โด่งดัง ไม่ว่าจะเป็น New Look ,Oval Line ,Open Tulip ,Long Line ,A Line หรือ H Line คือการใช้ความละเอียดอ่อนในการออกแบบ และตัดเย็บ

จนกระทั่ง วันที่ 24 ตุลาคม ปี ค.ศ. 2500 ดิออร์ได้เสียชีวิตลงด้วยโรคหัวใจ โดยที่เขาได้เปิดร้านเสื้อผ้าใน 24 ประเทศด้วยกัน และได้รับการสืบทอดต่อตามลำดับ โดย อีฟว์ แซ็ง โลร็อง (Yves Saint Laurent) ,มาร์ค โบแฮน (Marc Bohan) ,เจียนฟรังโก เฟอร์เร (Gianfranco Ferré) ,จอห์น แกลลิอาโน (John Galliano) ,บิล เกรย์ (ฺBill Gaytten) ,ราฟ ไซมอน (Raf Simons) ,เสริจ รัฟฟิล & ลูซี่ ไมเออร์ (Serge Ruffieux & Lucie Meier) ปัจจุบันคือ มาเรีย กาเซีย จูรี (Maria Grazia Chiuri) ที่ร่วมมือกับ คิม โจนส์ (Kim Jones)

Fuseau Collection หรือ Spindle

Fuseau Collection หรือ Spindle

ผลงานชิ้นสุดท้ายที่ดิออร์ คือ ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1957 ดิออร์ได้ออกแบบและผลิตผลงานชุด Fuseau Collection หรือ Spindle ทิ้งไว้ให้เป็นสมบัติทางโลกแฟชั่น ก่อนเขาเสียชีวิตลงเมื่อปี ค.ศ. 1957 ในวัย 52 ปี แม้เขาได้จากไปแต่ผลงานการออกแบบของเขาแน่นอนว่าเป็นที่ประจักษ์ในวงการ แบรนด์ Dior ยังคงเป็นแบรนด์ชั้นนำตลอดกาล จนได้รับการขนานนามว่า “Style Dictator” 

รัก
xoxo

KATE