เรามาทำความรู้จักและความเป็นมา ประวัติแบรนด์ YSL หรือชื่อเต็ม คือ Yves Saint Laurent จุดกำเนิดเเบรนด์ชั้นนำสัญชาติฝรั่งเศส ในปัจจุบันนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักแบรนด์ชื่อดังอย่าง Yves Saint Laurent ซึ่งมีความโดดเด่นและน่าสนใจเป็นอย่างมากในหมวดหมู่ของสินค้าแฟชั่น ไม่เพียงแต่เป็นห้องเสื้อมืออาชีพเท่านั้น แต่ยังมีอิทธิพลในแวดวงแฟชั่น และมีผลในการเปลี่ยนแปลงสไตล์การแต่งตัวของสาวๆทั่วโลก
Yves Saint Laurent (อีฟว์ แซ็ง โลร็อง)
แบรนด์ YSL มีต้นกำเนิดมาจาก Yves Henri Donat Mathieu-Saint-Laurent (อีฟว์ อ็องรี ดอนา มาตีเยอ-แซ็ง-โลร็อง) เกิดเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1936 ณ เมืองออราน ประเทศแอลจีเรีย เป็นคนสัญชาติแอลจีเรียโดยกำเนิด คุณพ่อของโลร็องสืบสายเลือดมาจากบารอน มาตีเยอ เดอ โมเวียร์ คุณเเม่เป็นลูกสาววิศวกรชาวเบลเยี่ยมและภรรยาชาวสเปน โดยโลร็องเป็นลูกชายคนโตของบ้าน และมีน้องสาวอีกสองคน ซึ่งคุณแม่เป็นผู้ถ่ายทอดสายเลือดทางแฟชั่นให้แก่โลร็อง
ในช่วงวัยเด็กสิ่งที่โลร็องชอบทำ คือ การพับตุ๊กตากระดาษ พอถึงช่วงวัยรุ่นเขาเปลี่ยนจากการพับตุ๊กตากระดาษ มาเป็นการตัดเย็บเสื้อผ้า และแน่นอนว่าคนที่โลร็องออกแบบและเย็บให้คนแรก คือ คุณแม่ ถัดมาก็เป็นน้องสาวอีกสองคนของเขาเอง เมื่อปี ค.ศ. 1953 โลร็องได้ส่งแบบร่างเสื้อผ้าสไตล์ของตัวเองเข้าประกวดโครงการ Young Fashion Designers ซึ่งจัดโดย International Wool Secretriat จำนวน 3 รูป ซึ่งโลร็องได้รับ “รางวัลชนะเลิศอันดับสาม” มาครอง และเขาถูกเชิญเข้าร่วมพิธีการรับรางวัลที่ประเทศฝรั่งเศส ในเดือนธันวาคมของปีนั้น
ในระหว่างคุณแม่และโลร็องเดินทางไปที่ประเทศฝรั่งเศส พวกเขาทั้งคู่ก็ได้พบกับ Michel de Brunhoff ซึ่งเขาคือบรรณาธิการของ นิตยสารชื่อดัง Vogue ฉบับฝรั่งเศส เขาชอบผลงานทั้ง 3 รูปของโลร็องมาก และได้แนะนำโลร็องเข้าไปสมัครเรียนที่ Chambre Syndicale de la Couture ที่ขึ้นชื่อว่า เป็นมหาวิทยาลัยที่โด่งดังในด้านการออกแบบเสื้อผ้าในยุคนั้น
และแน่นอนว่าเมื่อโลร็องอายุได้ 18 ปีบริบูรณ์ เขาได้ย้ายเข้าไปในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และได้เข้าไปสมัครเรียนที่ Chambre Syndicale de la Couture ตามคำแนะนำของ Brunhoff เป็นที่เรียบร้อย เมื่อเวลาผ่านไปโลร็องก็ก็ได้ค้นพบตัวเองว่าเขาไม่ได้ชอบเรียน ณ ที่นี้จึงได้ตัดสินใจลาออก
แต่ในขณะเดียวกันนั้นโลร็องก็ได้ส่งผลงานอีกครั้งในโครงการเดิม แต่รอบนี้โลร็องคว้า “รางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง” และไม่นานโลร็องก็ได้นำผลงานของตนเองไปให้ Brunhoff ดูทำให้ Brunhoff ตะลึงในผลงานว่าคล้ายคลึงกับ Dior และโลร็องก็ได้ส่งผลงานเขานั้น ให้แบรนด์ Dior ดู และดันไปเข้าตาดีไซน์เนอร์ชื่อดังและยิ่งใหญ่ในยุคนั้น นั่นคือ คริสเตียน ดิออร์ (Christian Dior) เขายังพูดอีกว่า “ดิออร์” เป็นผู้สอนและแนะนำเขาให้รู้จักศิลปะการออกแบบของตนเอง และเขาได้ร่วมงานกับดิออร์ในช่วงเวลาต่อมา
ภายหลังดิออร์ได้เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1957 โลร็องก็ได้เลื่อนขั้นเป็นหัวหน้าดีไซน์เนอร์ห้องเสื้อ Christian Dior นอกจากนี้ โลร็องยังช่วยกอบกู้วิกฤตกิจการของดิออร์ ที่ได้เจอกับความล้มเหลวทางเศรษฐกิจเอาไว้ได้อีกด้วย หลังจากที่ประสบความสำเร็จได้ไม่นานนัก โลร็องก็ได้ไปเข้าร่วมในการรบภายใต้กองทัพฝรั่งเศสในสงครามรบในประกาศอิสรภาพของแอลจีเรีย แต่โลร็องอยู่ในกองทัพได้เพียงแค่ 20 วันเท่านั้น
เขาก็ต้องประสบปัญหาภาวะตึงเครียดอย่างหนักทางจิตใจจากความกดดัน รวมทั้งมีข่าวร้ายจากห้องเสื้อดิออร์ ที่ถึงขั้นมีคำสั่งที่ต้องสั่งปลดตำแน่งหัวหน้าดีไซน์เนอร์และเลิกจากกันเลยที่เดียว ทำให้โลร็องต้องได้เข้ารับการรักษาด้วยการบำบัดสภาพจิตใจในโรงบาลของกองทัพ ซึ้งเขาถูกบำบัดด้วยยา จะถึงขั้นการช็อตไฟฟ้า
เมื่อในปี ค.ศ. 1960 โลร็องก็ได้รับการปล่อยตัวจากสถานบำบัด และได้ทำการฟ้องร้องเรียนค่าเสียหายจากห้องเสื้อดิออร์ ในเรื่องการละเมิดสัญญาการว่าจ้างงานและผลคือ โลร็องชนะคดี หลังจากนั้นโลร็องก็ได้พบรักกับปิแยร์ แบรก์แซ่ และทั้งสองคนจึงได้ทำการเริ่มต้นธุรกิจห้องเสื้อของตัวเองในนาม Yves Saint Laurent โดยโลร็องได้รับเงินสนับสนุนในการทำธุรกิจนี้จากมหาเศรษฐีชาวอเมริกัน เจ. มิค โรบินสัน (J. Mick Robidson) ถึงแม้ต่อมาโลร็องและปิแยร์จะเลิกรากันไปแต่ทั้งสองยังคงเป็นหุ้นส่วนธุรกิจกันเหมือนเดิม
ในส่วนผลงานชิ้นสำคัญของโลร็องนั่นก็คือ Le Smoking (ค.ศ. 1996) ชุดทักซิโดสูทเข้ารูปของคุณสุภาพสตรี ที่ดีไซน์ออกมาแบบ เฟมินิสต์ เป็นผลงานที่ดึงดูดและความสนใจในโลกของวงการแฟชั่นเป็นอย่างมาก รวมไปถึงแม้กระทั่งวัฒนธรรมร่วมสมัย เป็นสไตล์ที่บุกเบิก สื่อถึงการแต่งกายไร้เพศ แต่สง่างามสำหรับสตรี ที่เป็นแบบเดียวกับชุด Power Suits และ Pantsuit ของปัจจุบัน
ซึ่งสื่อถึงการเปลี่ยนแปลงพร้อมกับเปิดโอกาสให้สตรีได้สวมใส่เสื้อผ้าที่เหมือนสุภาพบุรุษที่มีอำนาจและทรงอิทธิพลในโลก ที่สุภาพบุรุษเป็นใหญ่ โดยมี เฮลมุท นิวตัน ช่างภาพชื่อดังได้ถ่ายภาพสะท้อนพลังอำนาจของชุดนี้ออกมาให้โลกและวงการแฟชั่นได้เห็นเป็นครั้งแรก
Fashions fade. Style is eternal
ประโยคคลาสสิคที่โลร็องพูดเสมอมา คือ “Fashions fade. Style is eternal” (แฟชั่นเดี๋ยวก็จางหาย สไตล์สิ คงยืนนิรันดร์) ในแวดวงแฟชั่นนี้มักจะได้ยินประโยคนี้บ่อยที่สุด และโลร็องเป็นดีไซน์เนอร์ที่มีชีวิตอยู่คนแรกที่ได้รับการเชิดชูเกียรติจาก Metropolitan Museum Of Art ด้วยการจัดแสดงนิทรรศการเดี่ยวให้ พร้อมกับเขายังได้รับเครื่องรัฐอิสริยาภรณ์จากปธานาธิบดี ฌาคส์ ซีรัค และประธานาธิบดี นิโกลาส์ ซาร์โกซี แต่หลังจากปี 2002 อีฟว์ แซ็งโลร็องก็ได้อำลาวงการแฟชั่นที่เขารักและเก็บตัวอยู่อย่างสันโดษกับสุนัขของเขาในบ้านที่นอร์มังดีและโมร็อคโค
ภาพสุดท้ายจากเทพเจ้าแห่งโลกแฟชั่นผู้เขินอายในทุกๆแฟชั่นโชว์ของเขา อีฟว์ แซ็งโลร็อง มักจะมาแอบดูอยู่หลังม่านทุกแฟชั่นโชว์เมื่อในปี 1995 ได้ถ่ายภาพเขาอยู่หลังม่านเวทีเช่นเคย ก่อนที่เขาจะเดินออกมารับเสียงปรบมือจากคนดูแฟชั่นโชว์ของเขา 7 ปี หลัง จากนี้ โลร็องก็ได้อำลาจากเวทีเดินแบบและวงการแฟชั่นไปชั่วนิรันดิ์
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2007 อีฟว์ แซ็งโลร็องที่มีอายุ 71 ปี ก็ได้เสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งในสมอง และเถ้ากระดูกของเขานั้นได้ถูกเก็บอยู่ในสุสานของสวนพฤษาศาสตร์ที่มีชื่อว่า Majorelle Garden ในเมืองมาราเคช ประเทศโมร็อกโคตามคำสั่งเสียในช่วงบั้นปลายชีวิตของเขาเอง ต่อจากนี้คงเหลือไว้แต่ผลงาน และสไตล์อันเต็มเปี่ยมที่ส่งแรงบันดาลใจแก่คนรุ่นหลังต่อไป
และแน่นอนว่าเรื่องราวขอเขาเป็นที่น่าสนใจมากถึงขั้นต้องหยิบมาสร้างภาพยนต์ที่เราสามารถเข้าไปชมความเป็นมาและศักยภาพของเขาได้ในภาพยนต์ทั้งสองเรื่องคือ Yves Saint Laurent (2014) และ Saint Laurent (2014) ที่จะสามารถบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาทั้งหมดหรือ ประวัติแบรนด์ YSL ได้เป็นอย่างดี
การเดินทางของ Yves Saint Laurent ที่ผ่านมา ทำให้เราได้รู้ว่า กว่าจะมาเป็นแบรนด์ YSL ที่โด่งดังในปัจจุบันได้นั้น ในเส้นทางสายแฟชั่น โลร็องต้องพบเจอและผ่านกับปัญาหาอะไรมาตั้งหลายอย่าง แต่โลร็องไม่เคยทิ้งความฝัน และสิ่งที่ตนเองรัก รวมทั้งมีความพยายาม มานะ อดทน ไม่ย่อท้อต่อสิ่งที่เจอ ดั้งนั้น ณ ปัจจุบันนี้สามารถพิสูจน์ได้แล้วว่า สิ่งที่โลร็องพยายามทำมาทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนรู้จัก และยังคงสืบทอดต่อมารุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบันนี้
รัก
xoxo