Porsche Cayenne คือ ชื่อของรถ SUV รุ่นแรก จาก Porsche แบรนด์รถยนต์สปอร์ตสุดหรูจากเยอรมนี ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Cayenne คือรถยนต์ที่สามารถทำรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยถูกผลิตขึ้นและออกสู่สายตาคนทั่วโลก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากนักอนุรักษ์นิยมทั้งหลาย รวมถึงนักลงทุน ที่อยากเก็บภาพลักษณ์ของแบรนด์รถสปอร์ตสุดแรงเอาไว้
แต่ Cayenne (คาเยนน์) ก็สามารถพิสูจน์ให้เห็นว่า มันมีศักยภาพที่ดีมากพอ ด้วยยอดขายกว่า 760,000 คันทั่วโลก จนกลายเป็นรถยนต์รุ่นหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งของแบรนด์ รวมทั้งได้รับการยอมรับทั่วโลก ในบทความนี้ เราจะพาไปเจาะลึกรายละเอียดเกี่ยวกับรถ SUV คันงามรุ่นนี้ ที่ซึ่งสามารถพลิกฟื้นสถานการณ์ของค่ายรถยนต์ในเมือง Stuttgart ให้กลับมามีรายได้มหาศาล เรื่องราวจะน่าสนใจเพียงใดนั้น ติดตามไปพร้อมกัน
PORSCHE CAYENNE
ย้อนกลับไปเมื่อช่วงก้าวเข้าสู่ศตวรรษใหม่ เหล่าบรรดาแฟนพันธุ์แท้รวมทั้งเหล่าผู้ชื่นชอบในรถสปอร์ตสุดหรูแบรนด์ Porsche (พอร์เชอร์) ต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่สับสน เมื่อ พอร์เชอร์ ประกาศว่าจะผลิตรถรูปแบบ SUV คันแรก ก่อให้เกิดคำถามรวมทั้งเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากกลุ่มผู้อนุรักษ์นิยม ซึ่งกังวลว่าการที่แบรนด์ลุกขึ้นมาผลิตรถลักษณะนี้ จะทำให้สูญเสียภาพลักษณ์ของวงการรถสปอร์ตที่แบรนด์สร้างมาหรือไม่ ทำไมผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงด้านรถสปอร์ตขนาดเล็กถึงหันมาผลิต SUV ?
คำตอบก็คือ เพื่อความอยู่รอดของแบรนด์ เนื่องด้วยในช่วงเวลานั้น ราคาซื้อขายรถสปอร์ตในตลาดลดลง เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทางแบรนด์เริ่มได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ในช่วงต้นปี 1990s คือยุคที่เยอรมนีเพิ่งทุบกำแพงเบอร์ลิน พอร์เชอ ประสบปัญหาทางด้านการเงินอย่างหนักกับภาวะขาดทุนอย่างรุนแรง ด้วยความที่เป็นกลุ่มผลิตยานยนต์ขนาดเล็ก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการบางอย่างเพื่อทำการกระตุ้นยอดขายและกระตุ้นความต้องการทางการตลาด
ขณะนั้น Wendelin Wiedeking เพิ่งเข้ารับตำแหน่ง ในฐานะผู้บริหารคนใหม่ของบริษัท ผู้ซึ่งมีวิสัยทัศน์กว้างไกลและมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของโลก และพอร์เชอก็ต้องก้าวให้ทันรวมถึงมีการปรับตัวเช่นเดียวกัน โดยพยายามต่อสู้กับแนวคิดและวัฒนธรรมดั้งเดิมขององค์กรที่ว่า "เราสร้างแต่รถสปอร์ต และตราบใดก็ตามที่เราสร้างรถให้มันดีที่สุด ลูกค้าก็จะซื้อและรถมันก็จะขายได้เอง" ซึ่งความคิดนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนทำให้แบรนด์ขาดทุน
...
Continue reading
0 Comments